วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทที่1 คำนมัสการคุณานุคุณ

 คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย อ่านเพิ่มเติม


ความเป็นมา

คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการพระพุทธคุณ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
            -  พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง อ่านเพิ่มเติม

ลักษณะคำประพันธ์

 คำนมัสการคุณานุคุณแต่ละตอนแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทต่างๆดังนี้
      อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
               อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่นำมาแต่งคำนมัสการอ่านเพิ่มเติม



ประวัติผู้แต่ง

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365-16 ตุลาคม พ.ศ. 2434) เป็นชาวฉะเชิงเทรา ท่านได้รับสมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กองตรวจโคลงบรรยายประก       อ่านเพิ่มเติม

เนื้อเรื่อง

                                                       คำนมัสการพระพุทธคุณ
   อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
                                             องค์ใดพระสัมพุทธ              สุวิสุทธะสันดาน
                                             ตัดมูลกิเลสมาร                   บ่มิหม่นมิหมองมัว
                                             หนึ่งในพระทัยท่าน             ก็เบิกบานคือดอกบัว
                                             ราคีบ่พันพัว                         สุวคนธะกำจร  อ่านเพิ่มเติม


วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

กังขา  หมายถึง ความสงสัย ความเคลือบแคลง
การุญภาพ หมายถึง ความเป็นผู้มีความกรุณา
เกลศ เป็นคำยืมสันสกฤตตรงกับคำบาลีว่า กิเลส หมายถึง เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
แกล้ง ในที่นี้หมายถึง ตั้งใจ เป็นความหมายที่ใช้กันในสมัยโบราณ
คุณานันต์  มาจากคำว่า คุณ+อนันต์  แปลว่า คุณมาก
จัตุสัจ  หมายถึง  อริยสัจ4 คือ ความจริงอันประเสริฐ4ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ชนกคุณ  หมายถึง พระคุณของพ่อ
แดนไตร  หมายถึง  โลกทั้ง3 ได้แก่ สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล หรือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
ตราก  มาจากคำว่า ตรากตรำ แปลว่า ทนทำอย่างไม่คิดถึงความลำบาก
นมัสการ หมายถึง  การกราบ การไหว้ การคารวะ
นิรา  หมายถึง  ไปจาก ไม่มี
นุกูล  มาจากคำว่า อนุกูล หมายถึง เกื้อกูล สงเคราะห์
บูชไนย  หมายถึง  พึงบูชา ควรบูชา เหมือนคำว่า ปูชนีย
บำราศ หมายถึง จากไป
ปิตุ  หมายถึง พ่อ บิดา
พสุนธรา  หมายถึง  แผ่นดิน
ภควันต์  หมายถึง พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า
อนุสาสน์  หมายถึง  คำสั่งสอน จากคำประพันธ์นี้ แปลว่า สอน
อัตถ์ หมายถึง เนื้อความ
อาจริยคุณ   มาจากคำว่า อาจริย+คุณ แปลว่า พระคุณของครู
อุตมงค์  หมายถึง  ส่วนที่สูงที่สุดของร่างกาย หมายถึง ศีรษะ
เอารสทศพล  หมายถึง  บุตรของพระพุทธองค์ หมายถึง พระภิกษุ
โอฆ  หมายถึง ห้วงน้ำ ในพระพุทธศาสนา หมายถึง กิเลสที่ท่วมทับจิตใจของหมู่สัตว์ 

ความรู้เพิ่มเติม

 1. ธูป   เป็นสิ่งสำหรับสักการะบูชาพระพุทธเจ้า(โดยเฉพาะ)  พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายนั้น พระองค์มีพระคุณมากมายสุดที่จะพรรณาได้ แต่เมื่อย่อลงให้น้อยที่สุดก็จะเหลือเพียง 3 ประการคือ
        1. พระปัญญาคุณ  คือ ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีใครสอน
        2. พระบริสุทธิคุณ  คือ ความบริสุทธิ์หมดจด ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เหลืออยู่เลย อ่านเพิ่มเติม